ทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยในอนาคตหลังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและมีรัฐบาลใหม่

15

ภายใต้บริบทของกลไกการค้าโลกในปัจจุบันและการเปิดเสรีทางการค้า ไม่ว่าจะเป็น FTA , WTO และ AFTA ก่อให้เกิดสภาวการณ์แข่งขันในภาคธุรกิจ ซึ่งแต่เดิมอาจจะเป็นการแข่งขันภายในประเทศหรือภายในภูมิภาค กลับต้องเผชิญกับการแข่งขันในระดับโลก กรณีของประเทศไทยสัดส่วนภาคเกษตรต่อ GDP น่าจะไม่ถึง 12% ขณะที่ภาคการค้าและภาคอุตสาหกรรม จะเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาความอยู่ดีกินดีของคนไทย ดังนั้น แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจมหภาค จึงจะต้องให้ความสำคัญต่อภาคเอกชน โดยเฉพาะภาครัฐ จะต้องเร่งส่งเสริมศักยภาพขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ซึ่งทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย เพื่อจะสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ จะต้องมียุทธศาสตร์ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลงด้านกลไกการค้าในบริบทของโลก อุตสาหกรรมไทยจะต้องหันกลับมาพัฒนาเทคโนโลยี โดยการลดการพึ่งพาแรงงาน ทั้งในเชิงปริมาณและแรงงานราคาถูก การแก้ปัญหาเกี่ยวกับภาครัฐ เกี่ยวกับปัญหาแรงงานต่างด้าวในลักษณะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะเป็นการขยายระยะเวลาการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวและการปรับลดค่าธรรมเนียม ซึ่งภาคอุตสาหกรรมออกมาโวยวายเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว หรือการให้ภาครัฐเพิ่มโควตาในการนำเข้าแรงงานต่างด้าวในระยะสั้น ผู้เขียนเห็นด้วยเพราะยังมีอุตสาหกรรมอยู่หลายคลัสเตอร์ จำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าว เนื่องจากแรงงานชาวไทยไม่ทำ รวมถึงอุตสาหกรรมบริการโลจิสติกส์ ก็เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับแรงงาน ซึ่งต้องยังมีการแบกหามก็มีคนไทยมาทำงานยากขึ้น

ดังนั้น ทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยในอนาคต โดยเฉพาะหลังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและมีรัฐบาลใหม่ (อรกครั้ง)ทั้งภาคการผลิตและภาคการบริการ ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยผู้ประกอบการไทย ทั้งในแง่การประชาสัมพันธ์และการฝึกอบรม รวมถึง เกี่ยวกับการส่งเสริมทางด้าน R&D ของไทย ซึ่งมีน้อยมาก และอย่าสับสนในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยแบบที่ผ่านมาในอดีตที่มองและพัฒนาเป็น Cluster หรือกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มพลาสติก , อิเล็กทรอนิกส์ เพราะข้อเท็จจริงแต่ละ Cluster มีศักยภาพขีดความสามารถและขนาดซึ่งแตกต่างกันมาก มีทั้งใหญ่-กลาง-เล็ก บางโรงงานมีปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยี บางโรงงานมีปัญหาด้านการตลาด หรือบางโรงงานมีปัญหาด้านทุนหรือด้านบริหาร ซึ่งทั้งหมดอยู่ในกลุ่ม (Cluster) อุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งแต่เดิมใช้ยาขนานเดียวกันการแก้ปัญหาอุตสาหกรรม ต้องพัฒนาไปด้วยกันทั้งพร้อมและไม่พร้อมอุตสาหกรรมไทยต้องใช้เวลาในการปรับไปสู่ New Wave Industries ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ใช่ไม่เห็นด้วย แต่กรณีเช่นนี้ รถไฟต้องไปเป็นขบวน มิฉะนั้น จะพากันตกรางหมด การพัฒนาจึงควรแยกตามลักษณะจากขีดความสามารถ ซึ่งผู้เขียนแยกไว้ 3 กลุ่ม ดังรายละเอียดข้างต้น อย่าปล่อยให้ SMEs ไทยช่วยตัวเอง แบบอยู่ใครอยู่มัน โดยเฉพาะในต่างจังหวัด