แนวโน้มอุตสาหกรรมยุคใหม่

การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้มีความแข็งแกร่งและยั่งยืนท่ามกลางการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันกันสูงและรุนแรงในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้เป็นภารกิจหลักที่สำคัญของกระทรวงอุตสาหกรรม เนื่องจากอุตสาหกรรมมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยมีการกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาอุตสาหกรรมดังนี้

1.การสร้างความพร้อมในการก้าวไปสู่การเป็นผู้ผลิตในระดับภูมิภาคเตรียมความพร้อมสู่ AEC เริ่มจากการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบ เพื่ออำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคที่มี พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ทั้งในด้านแรงงาน วัตถุดิบ เทคโนโลยี มาตรฐาน วิจัยและพัฒนา อีกทั้งพัฒนาการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2.มุ่งเน้นการพัฒนาต่อจากการพัฒนาฐานความรู้ โดยเน้นการผลิตสินค้าที่ต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เป็นที่ยอมรับในอาเซียน โดยการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการค้าและบริหารจัดการการผลิตและจัดการเครือข่ายในภูมิภาค

ยกระดับการผลิตวัตถุดิบเพื่อสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

3.สร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทย ด้านตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก โดยมีความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรมนุษย์

สำหรับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืนต้องคำนึงถึงด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาคน และการเตรียมความพร้อม สั่งสมความรู้ เรียนรู้ เป็นการต่อยอดองค์ความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

ให้ก้าวสู่อุตสาหกรรมสีเขียวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ทั้งนั้นภาครัฐควรพัฒนาในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน และสร้าง Country Brand ให้สินค้าไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี บรรจุภัณฑ์ น่าประทับใจ ใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เข้ามาช่วย รวมทั้งต้องสร้างการรับรู้และความน่าเชื่อถือของประเทศโดยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับต่างประเทศทั้งในส่วนของรัฐบาลและในธุรกิจ โดยการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เครื่องจักรใหม่ที่ประหยัดพลังงาน มีกระบวนการผลิตที่สะอาด พัฒนาระบบโลจิสติกส์ และผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้เลือกและตัดสินใจซื้อสินค้าด้วย

ดังนั้น อุตสาหกรรมยุคใหม่จะต้องมีการเพิ่มขีดความสามารถภายใต้บริบทของการแข่งขันที่รุนแรงและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมไทยมีโอกาสในการแข่งขันทุกอุตสาหกรรมเพียงแต่ต้องเลือกเวทีและสินค้าให้ถูก เพราะหากทำได้จะสามารถลดต้นทุน ลดความสูญเสีย และนำไปสู่การแข่งขันที่ดีขึ้น

การพัฒนาอุตสาหกรรมนเพื่อเป็นเข็มทิศในการพัฒนาผู้ประกอบการไทย

การพัฒนาอุตสาหกรรมนเพื่อเป็นเข็มทิศในการพัฒนาผู้ประกอบการไทย
อุตสาหกรรมเป็นภาคที่มีความสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และมีบทบาทสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยมาโดยตลอด ผลผลิตอุตสาหกรรมต่อ GDP ที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการ ส่งออกของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ โดยสินค้าที่เป็นสินค้าหลักในการส่งออกนั้น กระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่รายการ ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับกลางและสูง พึ่งพาการนําเข้าชิ้นส่วน เครื่องจักร เทคโนโลยีและทุน จากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูง ประกอบกับกระแสการเปลี่ยนแปลงภายใต้โลกาภิวัตน์มีความรวดเร็ว และซับซ้อน มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง และอุปสรรค ต่างๆ จึงมีความจําเป็นอย่างมากในการกําหนดทิศทางการพัฒนา ระบบสนับสนุน รวมถึงนโยบายต่างๆ ที่เอื้อต่อ การพัฒนาอุตสาหกรรม รวมไปถึงคุณภาพของประชากร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อเป็นเข็มทิศในการพัฒนาผู้ประกอบการไทย และอุตสาหกรรม ให้สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ภาพรวมของการพัฒนา ของอุตสาหกรรมโลก ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยเพื่อตอบสนองต่อมิติการพัฒนาใหม่ ผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่ออุตสาหกรรมไทย นอกจากนี้ยังเน้นถึงเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนา อุตสาหกรรมของประเทศไทยในอนาคต ทั้งในภาพรวม และในอุตสาหกรรมรายสาขาที่สําคัญ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในการเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพทางการแข่งขันในระดับนานาชาติเพื่อ สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และสร้างงานให้แก่ประชาชน ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีความสมดุล เป็นฐานรากในการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืนต่อไป

ในอนาคตภาคอุตสาหกรรมก็จะยังคงมีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากเป็นภาคที่สําคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ จึงจําเป็นที่จะต้องมีการกําหนดกระบวนทัศน์และ ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งในภาพรวม และรายสาขา ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของ กระแสโลกอันประกอบไปด้วยการสร้างคุณค่า ด้วยนวัตกรรม องค์ความรู้ และเทคโนโลยี รวมถึงปรับศักยภาพหลักของไทยให้สอดคล้องกับความต้องการในระดับโลก เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังต้องสร้างความสมดุล และความเกื้อหนุนของการ พัฒนาใน 4 มิติได้แก่มิติทางด้านเศรษฐกิจ มิติทางด้านสังคม มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม และมิติทางด้านทุนมนุษย์ อันจะนํามาซึ่งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมไทยได้อย่างยั่งยืนใน ระยะยาว