ความก้าวหน้าด้านงานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร

อุตสาหกรรมการเกษตรเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากก่อให้เกิดความเชื่อมโยงการผลิตระหว่างภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมการเกษตรจะมีศักยภาพในการผลิตและการส่งออก แต่การเจริญเติบโตยังไม่สามารถขยายตัวไปได้เท่าที่ควร เนื่องจากประสบปัญหาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ ปัญหาการจัดการวัตถุดิบ การขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐาน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี การขาดระบบเชื่อมโยงและการรับช่วงการผลิต การตลาด กฎระเบียบของรัฐ และการกีดกันทางการค้าจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความสามารถในการผลิตและการแข่งขันของอุตสาหกรรมการเกษตรให้มีความเข้มแข็งขึ้น โดยการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานหลัก และหน่วยงานสนับสนุนในการจัดทำแผนแม่บทเพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร

การพัฒนาอุตสาหกรรรมเกษตรจำเป็นต้องสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ ในด้านการวิจัย และการปฏิบัติเชิงบริหาร เพื่อเป็นการเสริมความรู้ความชำนาญทางการบริหารและการจัดการเทคโนโลยีเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตร เป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางอุตสาหกรรมเกษตรที่มีวิสัยทัศน์ทางด้านการบริหารและการจัดการเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ เพื่อเสริมความเข้มแข็งในกระบวนการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการผลิตสารชีวภาพต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีการตัดต่อยีน การค้นหาและสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากสมุนไพรเป็นการผสมผสานความรู้ด้านชีวเคมี จุลชีววิทยา และวิศวกรรมศาสตร์เข้าด้วยกัน

เนื่องจากการแข่งขันในตลาดโลกที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ทั้งในด้านราคาและคุณภาพ กล่าวคือ ตลาดต้องการสินค้าคุณภาพดีราคาถูก การที่จะทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้นั้นจำเป็นต้องมีการเพิ่มขีดความสามารถทั้งในด้านการจัดการทรัพยากร การผลิต การเงิน และการตลาด มีการประกันคุณภาพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า ดังนั้นบุคลากรที่สามารถดำเนินธุรกิจดังกล่าวให้บรรลุผลสำเร็จได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ทั้งทางด้านบริหารจัดการ และด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร

การมีตลาดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่กว้างขึ้น

การผลิตในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยมีความก้าวหน้ามากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนอุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ ต้นทุนการผลิตของประเทศเพื่อนบ้านที่ต่ำกว่าไทย ทั้งในด้านวัตถุดิบ และแรงงาน ดังนั้นเมื่อพิจารณาทิศทางในการพัฒนาเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรตามกรอบแนวคิดจะเห็นว่า ในส่วนต้นน้ำคือ การเพิ่มผลผลิตและการพัฒนาคุณภาพผลผลิตที่ต้องให้ความสำคัญกับการจัดหาแหล่งน้ำ การวางระบบและการตรวจสอบมาตรฐาน การกระจายพันธุ์ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตอาหารแปรรูปที่สำคัญสำหรับภูมิภาคและทั่วโลกจากการใช้วัตถุดิบในประเทศ

ศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมไทยในการสร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรม

ในสถานการณ์ยุคโลกาภิวัตน์ ประเทศต่างๆ ต้องเผชิญกับปัญหาการแข่งขันระหว่างประเทศค่อนข้างสูง การสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศสามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ได้นั้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ ซึ่งการกระทำดังกล่าวต้องอาศัยทั้งความรู้และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ดังนั้น การทำวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างและสะสมองค์ความรู้ให้ทันสมัยตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญและกำหนดเป็นนโยบายที่สามารถแปลงไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

“นวัตกรรม” เป็นการใช้ความรู้ ทักษะการบริหารจัดการ รวมทั้งประสบการณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และด้านเทคโนโลยี เพื่อการคิดค้น การประดิษฐ์ การพัฒนา การผลิตสินค้า การบริการ กระบวนการผลิต และการจัดการองค์กรในรูปแบบใหม่ ซึ่งโลกในปัจจุบันนี้หากองค์กรใดไม่สามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตนเองด้วยการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องแล้ว ก็ย่อมที่จะประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ยากและไม่สามารถก้าวขึ้นไปสู่การเป็นผู้นำของธุรกิจได้ ดังนั้น การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว จะช่วยขับเคลื่อนให้ไทยก้าวไปสู่เศรษฐกิจสังคมฐานความรู้ (knowledge-based society) และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลกได้อย่างยั่งยืน

การที่จะขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและโดยเฉพาะภาคเอกชนที่ต้องมีการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ที่ชัดเจน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมภายในองค์กร ดังเช่นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของภาคเอกชนเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนภาคเอกชนในการสะท้อนปัญหา ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อภาครัฐ และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการกระจายการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้กับภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ในการสร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรม

ปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนานวัตกรรมของผู้ประกอบการไทย

ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ซึ่งยังขาดความพร้อมด้านเงินลงทุนและบุคลากรด้านวิจัยและพัฒนาอย่างมาก ดังนั้น เอกชนไทยจึงยังไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่มีศักยภาพทางการแข่งขันในระดับสูงได้ ซึ่งแม้ว่าภาครัฐจะมีการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาอยู่แล้ว แต่งานเหล่านี้ก็ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ นอกจากนี้ ในบางกรณียังอาจเป็นไปในลักษณะที่แข่งขันกับภาคเอกชนด้วย เช่น การพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่างๆ รวมทั้งยังขาดตลาดในการรองรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากภาคเอกชนอีกด้วย

1 7 8 9