ภาวะหย่อนหรือโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (นกเขาไม่ขัน)

ปัญหาสุขภาพของท่านชาย ที่ปัจจุบันพบได้บ่อย สร้างความกังวล และลดความมั่นใจให้กับคุณผู้ชาย คือ ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (นกเขาไม่ขัน) หรือภาวะการแข็งตัวของอวัยวะเพศชายไม่เต็มที่ แต่สามารถบรรเทาอาการนกเขาไม่ขันได้ ด้วยการเสริมในเรื่องของโภชนาการและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมก็จะมีส่วนช่วยในเรื่องของการดูแลสุขภาพเพศชายที่ดีขึ้น เช่น

การหลีกเลี่ยงไม่รับประทานอาหารหวานและคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปเพราะน้ำตาลจะส่งผลเสีย และทำลายหลอดเลือด
การควบคุมและรักษาภาวะไขมันคลอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
การได้รับสารอาหารที่กรดอะมิโน arginine สูง จะช่วยระบบการไหลเวียนของเลือดที่ดีขึ้น
การได้รับสารอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูง เพราะสังกะสีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่า testosterone
สารอาหารในกลุ่ม flavanoid ที่พบได้ในสมุนไพรไทยเช่นกระชายดำ ก็มีข้อมูลหลักฐานทางการศึกษาที่จะช่วยในเรื่องระบบการไหลเวียนหลอดเลือดให้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากพบสัญญาณ E.D. โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แล้ว ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ที่ชื่อว่า Shockwave therapy เป็นคลื่นเสียงชนิดหนึ่งยิงส่งเข้าไปยังบริเวณอวัยวะเพศชายด้วยพลังงานความรุนแรงต่ำ จำนวน 4,000 ช็อต ไปที่ 4 ตำแหน่ง เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนของหลอดเลือด ทำให้มีเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศชายได้มากขึ้น โดยคนไข้จะรู้สึกถึงพลังงานที่ลงไปที่องคชาติ

ทั้งนี้ควรคนไข้ควรเข้ามา Shockwave สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ ก็จะช่วยให้การแข็งตัวขององคชาตมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

อายุ เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่ออายุสูงขึ้น โอกาสที่จะเกิดภาวะ ED ก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย
สังคมและเศรษฐกิจ พบภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศมากขึ้นในกลุ่มคนที่ฐานะ/สถานะทางเศรษฐกิจสังคมที่ไม่ค่อยดี
โรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง
โรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่าโรคหัวใจมีผลมากที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะ ED ระดับสูง ถึงร้อยละ 13.2
โรคความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดภาวะ ED ได้ร้อยละ 62 เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีความดันโลหิตสูง และพบ 8 – 10% ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงมีภาวะ ED ร่วมอยู่แล้ว
โรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะ ED ได้ร้อยละ 74.7 เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีเบาหวาน
ถ้าพบว่ามีโรคทั้ง 3 ร่วมกัน จะมีภาวะ ED ร่วมทุกราย
เคยได้รับการผ่าตัดมาก่อน เช่น การผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน การผ่าตัดผ่านทางท่อปัสสาวะ ได้รับอุบัติเหตุบริเวณอุ้งเชิงกราน อุบัติเหตุที่ไขสันหลัง
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย
การรับประทานยาบางชนิด
พฤติกรรมอื่น ๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกาย พฤติกรรมทางเพศ
ภาวะทางจิตใจ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า จากการศึกษาพบว่าคนที่มีภาวะซึมเศร้ามีภาวะ ED ร้อยละ 50 – 90

การป้องกันภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงทั้งทางกายและจิตใจ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
การรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ทั้งแบบไม่ใช้ยาและการใช้ยาหรือใช้อุปกรณ์ช่วย ซึ่งมีวิธีการรักษาหลักอยู่ 4 วิธี ได้แก่

ยากลุ่มยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ phosphodiesterase type 5 เป็นทางเลือกแรกในการรักษาผู้ที่ไม่มีข้อห้ามใช้ (ผู้ที่ห้ามใช้คือ ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม nitrate)อาการข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดศีรษะ การมองเห็นผิดปกติ อาการร้อนวูบวาบและปวดเมื่อยตามตัว
การรักษาด้วยยาฉีดเข้าที่องคชาต โดยฉีดเข้าอวัยวะเพศโดยตรง ยาชนิดนี้เป็นยาที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เพื่อนำเลือดเข้าสู่อวัยวะเพศชาย จนเกิดการแข็งตัว และจะแข็งได้นาน 30 – 60 นาที
การรักษาด้วยยาสอดเข้าทางท่อปัสสาวะ ใช้ตัวยาเดียวกับที่ใช้ฉีดเข้าอวัยวะเพศ แต่เป็นรูปแบบเม็ดเล็ก ๆ สอดเข้าทางท่อปัสสาวะ หลังจากคลึงอวัยวะเพศประมาณ 5 – 10 นาที ยาจะซึมเข้าอวัยวะเพศและทำให้แข็งตัวขึ้นมาได้
การรักษาด้วยกระบอกสุญญากาศ โดยนำกระบอกสุญญากาศสวมเข้าที่อวัยวะเพศชายหลังทำการปั๊ม อากาศจะถูกปั๊มออกจากท่อพลาสติกที่สวมเข้าไปภายในเวลา 2-3 นาที เลือดจะถูกดึงให้เข้าไปที่เนื้อเยื่อแทน ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ เมื่ออวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่แล้ว จึงถอดกระบอกสูญญากาศออก แล้วนำยางรัดที่ฐานของอวัยวะเพศชาย เพื่อช่วยให้ยังคงการแข็งตัวต่อไปได้
การผ่าตัดใส่แกนองคชาตเทียม