การพัฒนาอุตสาหกรรมนเพื่อเป็นเข็มทิศในการพัฒนาผู้ประกอบการไทย

การพัฒนาอุตสาหกรรมนเพื่อเป็นเข็มทิศในการพัฒนาผู้ประกอบการไทย
อุตสาหกรรมเป็นภาคที่มีความสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และมีบทบาทสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยมาโดยตลอด ผลผลิตอุตสาหกรรมต่อ GDP ที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการ ส่งออกของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ โดยสินค้าที่เป็นสินค้าหลักในการส่งออกนั้น กระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่รายการ ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับกลางและสูง พึ่งพาการนําเข้าชิ้นส่วน เครื่องจักร เทคโนโลยีและทุน จากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูง ประกอบกับกระแสการเปลี่ยนแปลงภายใต้โลกาภิวัตน์มีความรวดเร็ว และซับซ้อน มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง และอุปสรรค ต่างๆ จึงมีความจําเป็นอย่างมากในการกําหนดทิศทางการพัฒนา ระบบสนับสนุน รวมถึงนโยบายต่างๆ ที่เอื้อต่อ การพัฒนาอุตสาหกรรม รวมไปถึงคุณภาพของประชากร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อเป็นเข็มทิศในการพัฒนาผู้ประกอบการไทย และอุตสาหกรรม ให้สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ภาพรวมของการพัฒนา ของอุตสาหกรรมโลก ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยเพื่อตอบสนองต่อมิติการพัฒนาใหม่ ผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่ออุตสาหกรรมไทย นอกจากนี้ยังเน้นถึงเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนา อุตสาหกรรมของประเทศไทยในอนาคต ทั้งในภาพรวม และในอุตสาหกรรมรายสาขาที่สําคัญ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในการเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพทางการแข่งขันในระดับนานาชาติเพื่อ สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และสร้างงานให้แก่ประชาชน ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีความสมดุล เป็นฐานรากในการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืนต่อไป

ในอนาคตภาคอุตสาหกรรมก็จะยังคงมีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากเป็นภาคที่สําคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ จึงจําเป็นที่จะต้องมีการกําหนดกระบวนทัศน์และ ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งในภาพรวม และรายสาขา ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของ กระแสโลกอันประกอบไปด้วยการสร้างคุณค่า ด้วยนวัตกรรม องค์ความรู้ และเทคโนโลยี รวมถึงปรับศักยภาพหลักของไทยให้สอดคล้องกับความต้องการในระดับโลก เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังต้องสร้างความสมดุล และความเกื้อหนุนของการ พัฒนาใน 4 มิติได้แก่มิติทางด้านเศรษฐกิจ มิติทางด้านสังคม มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม และมิติทางด้านทุนมนุษย์ อันจะนํามาซึ่งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมไทยได้อย่างยั่งยืนใน ระยะยาว

แนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สมดุลและยั่งยืน

แนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สมดุลและยั่งยืนดังนี้

1.ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืนโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สร้างและพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ ส่งเสริมการยกระดับองค์ความรู้และทักษะผู้ประกอบการ รวมทั้งพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรม

2. เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลภาคอุตสาหกรรม โดยการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานที่ส่งเสริมประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานการผลิต สนับสนุนการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการสร้างคุณค่าสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ รวมทั้งประสานความร่วมมือการพัฒนาระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันเฉพาะทางในการฝึกอบรมบุคลากรให้มีทักษะ มีการใช้ความคิดสร้างสรรค์และองค์ความรู้

3. พัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และนักวิจัยให้เพียงพอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการผลิต และพัฒนาบุคลากรวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ที่มีบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานจริงในสถานประกอบการ

ทั้งนี้ ในสภาวะที่ค่าจ้างแรงงานของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นลำดับ และการควบคุมในด้านสิ่งแวดล้อมมีความเข้มงวดมากขึ้น การที่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมจะสามารถมีธุรกิจที่แข่งขันได้และมีความยั่งยืน ก็จำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนด้านวิจัย และพัฒนาเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าสูงขึ้น ทั้งนี้ การลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนามีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้มาซึ่งบุคคลากรที่มีความชำนาญในเรื่องวิจัยและพัฒนา โดยที่ค่าใช้จ่ายในอัตราที่สูงนี้เป็นผลให้ภาคอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อมไม่สามารถแบกภาระนี้ไว้ได้ เป็นผลให้ในปัจจุบันอุตสาหกรรมเหล่านี้ไม่ดำเนินการเรื่องเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อประสิทธิภาพ และ/หรือประสิทธิผลของการผลิตเลย ดังนั้น การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สามารถแข่งขันและพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ภาครัฐบาลมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีส่วนช่วยสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ในด้านการวิจัยและพัฒนา และการสร้างกำลังคนสำหรับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ก็มีเป้าหมายที่จะเร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและครูวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงและนำพาประเทศไทยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้แบบสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่